19/04/2025

จันทบุรี//สีสันของวันสงกรานต์จะมาพร้อมประเพณีขนทรายเข้าวัด ”เพื่อก่อพระเจดีย์ทราย”

IMG_4057

จันทบุรี//สีสันของวันสงกรานต์จะมาพร้อมประเพณีขนทรายเข้าวัด ”เพื่อก่อพระเจดีย์ทราย”

15 เมษายน 2568ผู้สื่อข่าวลงพื้นยามเช้าตรู ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในพื้นที่บ้านช้าง ข้าม หมู่ที่ 5 วัดช้างข้าม ตำบลช้างข้าม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
ถึงแม้จะไม่เลือนหายแต่ก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ยุคสมัยเปลี่ยน อะไรต่อมิอะไรก็เปลี่ยน ยิ่งเป็นประเพณีด้วยแล้วย่อมเคลื่อนไหวไปตามกาลเวลา ถึงคนโบร่ำราณจะพยายามส่งต่อให้คนรุ่นหลังสานต่อประเพณีอันดีงาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า วันสงกรานต์ ในอดีตกับปัจจุบันนั้นช่างแตกต่าง กันมากมาย ถึงเพียงนี้
ซึ่งวันนี้พุทธศาสนิกชน ในเขตตำบลช้างข้ามและใกล้เคียงได้ร่วมกันมาทำบุญกันที่วัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่ออุทิศบุญกุศลนั้นให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองเนื่องในวันสงกรานต์และเป็นปีใหม่ของไทย และก็จะได้ร่วมกันก่อพระเจดีย์ทรายและประดับประดาไปด้วยเครื่องตกแต่งทั้งหลาย เต็มไปด้วยน้ำหอม น้ำอบเชยดอกไม้ธูปเทียนต่างๆรอบๆองค์พระเจดีย์ทราย เหล่าชาวพุทธที่รวมใจกันก่อสร้างเจดีย์ทรายที่สวยงาม พร้อมทั้ง
ตกแต่ง องค์พระเจดีย์

ทั้งนี้การก่อพระเจดีย์ทราย เป็นหนึ่งในประเพณีที่นึกถึงวันสงกรานต์ก็จะมีมาควบคู่กัน เพราะเกิดขึ้นจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
ก่อเจดีย์ทรายทำไมเพื่ออะไร
ประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย ผูกโยงกับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา เชื่อว่าการก่อเจดีย์ทราย นำมาถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไป มาคืนวัดในรูปของเจดีย์ทรายและเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเชื่อกันว่าจะได้อานิสงส์มาก คือจะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพรียบพร้อมด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารมากมายพรั้งพร้อมไปด้วยเกียรติยศและชื่อเสียง หากแม้ตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์ มีพรั่งพร้อมด้วยสมบัติ จึงทำให้คนโบราณนิยม “การก่อพระเจดีย์ทราย” ใน “วันสงกรานต์”
และเป็นกุศโลบายให้คนในชุมชนรวมตัวกันได้พบปะสังสรรค์กัน เพื่อจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน
แต่ในบางพื้นที่เช่นภาคเหนือให้ความสำคัญกับการ การก่อเจดีย์ทราย อย่างมาก โดยชาวเหนือจะ การก่อพระเจดีย์ทราย กันตอนบ่ายของวันเนาหรือวันเน่า ตามตำนานเรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อพระเจดีย์ทราย 84,000 องค์ ถวายเป็นพุทธะ ธัมมะ สังฆะบูชา

นอกจากในแง่บุญกุศลของการ การก่อเจดีย์ทราย ในทางบาปกรรมตามความเชื่อของชาวเหนือก็เข้มข้นเช่นกัน ก็เพราะคนโบราณเชื่อว่า ทุกครั้งที่เดินเข้าวัดพุทธศาสนิกชนก็จะนำเม็ดทรายในวัดติดเท้าออกมาด้วยโดยไม่ตั้งใจ แต่หากไม่ขนทรายไปใช้แทน เมื่อตายไปจะเกิดเป็นเปรต เพราะคนล้านนาถือเรื่องสมบัติของสงฆ์ว่าเป็นของสูงของศักดิ์สิทธิ์ ใครจะลักขโมยหรือทำลายไม่ได้ เป็นบาปมหันต์ยิ่งนัก
ประเพณีขนทรายเข้าวัด ด้วยการก่อพระเจดีย์ทราย ที่มีความเป็นมายาวนานเช่นกัน แต่ในอดีตจะเรียกกันว่า “ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล” ในช่วงวันทำบุญขึ้นปีใหม่ไทย ชาวบ้านจะนิยมก่อพระเจดีย์ทรายถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งจะจัดงานหลัง “วันสงกรานต์” ประมาณ 5 วัน และเชิงเทคนิคการ “การก่อเจดีย์ทราย” คือ การขนทรายมากองแล้วรดน้ำ เอาไม้ปั้นกลึงเป็นรูปทรงเจดีย์ หรือ ทำเป็นกรวยเล็กๆ ก่อให้ครบ 84,000 กอง เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์ แล้วประดับประดาด้วยธงทิวและดอกไม้ให้สวยงาม
ซึ่งหลังจากก่อพระเจดีย์ทรายและจัดเตรียมบริขารเพื่อถวายพระ พระสงฆ์ก็จะพิจารณาบังสุกุล ทำบุญเลี้ยงพระ และเลี้ยงคนที่ร่วมงานด้วย เป็นประเพณีที่สนุกสนาน ในเทศกาลสงกรานต์
ในอดีตนั้นวัดที่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองจะจัด “ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล” ขึ้น ด้วยการขุดลอกทรายที่น้ำฝนชะล้างไหลลงสู่แหล่งน้ำ ถือเป็นการขนทรายเข้าวัดให้ได้นำไปสร้างศาสนสถาน และพัฒนาท้องถิ่นโดยการร่วมแรงคนในชุมชนเพื่อร่วมขุดลอกเส้นทางน้ำให้สะอาด เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนน้ำฝนจะได้ไหลสะดวก
แต่ปัจจุบันสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ”การขนทรายเข้าวัด” เปลี่ยนเป็นซื้อทรายมาไว้ที่วัด ซึ่งวัดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรายในการสร้างศาสนสถานอย่างในอดีต และคูคลองที่ทรายเคยไหลรวมกันถูกตัดเป็นถนน งานก่อพระทรายน้ำไหลจึงเปลี่ยนผัน เรียกกันสั้นๆ เหลือเพียงแค่ “คำว่าวันไหล”

กิตติพงศ์ คงคาลัย ผู้สื่อข่าว จ.จันทบุรี

ข่าวที่น่าติดตาม