พิษณุโลก ร่วมลงพื้นที่เก็บข้อมูล แป้งแห้วนา ตามโครงการภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมสร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่น ปี 2568

พิษณุโลก ร่วมลงพื้นที่เก็บข้อมูล แป้งแห้วนา ตามโครงการภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมสร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่น ปี 2568
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 นายสมควร ไชยมหา เกษตรจังหวัดพิษณุโลก มอบหมายให้นายจีรพงษ์ จุลพันธ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มยุทธศาสตร์และสานสนเทศ ลงพื้นที่ติดตามการปลูกแห้วนา และการแปรรูปแป้งแห้วนา และเส้นแก้ว (แทนเส้นก๋วยเตี๋ยว) ของนายชุติพงศ์ ฟักปั้น เกษตรกรทำนาแห้ว และปราชญ์ชาวบ้าน ณ แปลงแห้วนา หมู่ที่ 18 ตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
การลงพื้นที่ครั้งนี้ เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมและนำไปจัดทำระบบข้อมูลในส่วนของภูมิปัญญาท้องถิ่นอัตลักษณ์ชุมชน เรื่องแป้งแห้วนา และทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาดังกล่าวฯ ให้เป็นที่รู้จักต่อคนทั่วไป แห้วนา เป็นวัชพืชประเภทกก เป็นพืชล้มลุก ลําต้นใต้ดินเป็นเหง้าหรือเป็นหัวที่สะสมอาหาร และมีไหลเล็กๆแตกออกไปสร้างหน่อใหม่ สามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แห้วนา มีคุณสมบัติให้ฤทธิ์เย็นช่วยในการปรับสมดุลของร่างกายและบํารุงผิวพรรณ
แห้วนา เป็นพืชที่ปลูกง่ายโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ต้องให้น้ำตลอดเวลา
เพียงแต่ต้องระวังวัชพืชไม่ให้ขึ้นเท่านั้น ขั้นตอนการขุดแห้วนา จะใช้เสียมในการขุดเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถใช้เครื่องจักรได้ ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการขุด แห้วนา เป็นพืชที่สามารถนํามาแปรรูปเป็นแป้งแห้วนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ต่อยอด พัฒนา และยกระดับนวัตกรรมอาหารภายในชุมชนได้ อีกทั้งมีความสําคัญในเชิงภูมิศาสตร์ และเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชาวตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
ภาพ/ข่าว สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก/รายงาน