สุโขทัย-เทศบาลศรีสัชนาลัยสส่งเสริมคนพื้นถิ่นยกระดับการออกแบบเครื่องแต่งกายจากผ้าทอยกดอกชุมชนสู่ตลากสากล เพิ่มงาน เติมรายได้ชุมชน

สุโขทัย-เทศบาลศรีสัชนาลัยสส่งเสริมคนพื้นถิ่นยกระดับการออกแบบเครื่องแต่งกายจากผ้าทอยกดอกชุมชนสู่ตลากสากล เพิ่มงาน เติมรายได้ชุมชน

 


วันที่ 24 มกราคม 2565 เวลา 09.00 น. นายสมศักดิ์ พุ่มชื่น นายกเทศมนตรีเมืองศรีสัชนาลัย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการออกแบบเครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์จากผ้าทอยกดอกชุมชนตำบลท่าชัย-ตำบลศรีสัชนาลัย สู่ศิลปะร่วมสมัย สนับสนุนโดย กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 24-25มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.30-16.30 ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย


เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย สนับสนุนส่งเสริมโครงการอาชีพให้กับชาวชุมชนศรีสัชนาลัยและชุมชนท่าชัย / ตำบลในสังกัดเทศบาลฯ และการอนุรักษ์งานฝีมือพื้นบ้านและศิลปหัตถกรรม กลุ่มผ้าทอ กลุ่มผ้าทอยกดอกของศรีสัชนาลัย จัดโครงการวิชาชีพพัฒนาศักยภาพและยกระดับการออกแบบเครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์จากผ้าทอยกดอก ผลจากการลงพื้นที่และสอบถามปัญหาในการผลิตผ้าทอยกดอก ความต้องการให้พัฒนาด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบลวดลายมาสู่การออกแบบเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอยกดอกชุมชนตำบลท่าชัย-ตำบลศรีสัชนาลัย สู่ศิลปะร่วมสมัย


จัดหาเทคนิคการผลิตด้วยนวัตกรรมใหม่ ที่จะช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ และผ้าทอยกดอกชุมชนตำบลท่าชัย-ตำบลศรีสัชนาลัย มีรูปแบบร่วมสมัยและออกสู่ตลาดมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่มีหลากหลายในปัจจุบัน และในการที่จะร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผ้าทอยกดอกของจังหวัดสุโขทัย เพื่อสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพของชุมชนผ้าทอพื้นถิ่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ผ้าทอยกดอกชุมชนตำบลท่าชัย-ตำบลศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย มีชื่อเสียงมากในการทอ และผ้ายกดอก โดยเฉพาะในอำเภอศรีสัชนาลัย คือเทคนิคการทอผ้าชนิดหนึ่ง ลวดลายเกิดจากวิธีการยกเขาในเครื่องทอที่เป็นตัวกำหนดเส้นด้ายที่สวยงาม ทำให้เกิดลวดลาย


ผ้าทอยกดอกชุมชนตำบลท่าชัย-ตำบลศรีสัชนาลัยมีความงดงามประณีตด้วยฝีมือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา งานศิลปะที่ชาวศรีสัชนาลัย มีความภูมิใจ จากปัญหาความต้องการของชุมชนผู้ผลิต ที่ต้องการให้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และเทคนิคการผลิตด้วยนวัตกรรม ร่วมกับแนวคิดวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เป็นแนวทางในการเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้มีโอกาสทางการตลาดมากขึ้น พร้อมการนำมาออกแบบเครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์จากผ้าทอยกดอกพัฒนารูปแบบและการออกแบบ ลวดลายและการผลิตใหม่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ และส่งเสริมอาชีพของชุมชนจากภูมิปัญญาพื้นถิ่นชาวศรีสัชานาลัย สู่งานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นิยมในปัจจุบันได้ต่อไป


สุริยา ด้วงมา จ.สุโขทัย 081-2844862

ข่าวที่น่าติดตาม